ตุ่มใสในปากคืออะไร ? รู้จักและทำความเข้าใจวิธีการรักษาอย่างถูกต้อง

ตุ่มใสในปาก มีลักษณะเป็นตุ่มหรือเป็นถุงน้ำที่มีของเหลวอยู่ด้านใน อาจเป็นสีฟ้าหรือสีใสก็ได้ เมื่อเกิดตุ่มใสในปากมักไม่มีอาการชัดเจน เพราะส่วนมากไม่ได้ทำให้รู้สึกเจ็บหรือปวด ตุ่มใสที่ปากเกิดขึ้นได้ทุกที่ในช่องปาก ทั้งริมฝีปาก เหงือก ลิ้น หรือบนเพดานปาก โดยปกติแล้วตุ่มใสนี้ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาใด ๆ มักจะแตกแล้วหายไปเองได้ภายใน 2 สัปดาห์ ในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับตุ่มใสในปากอย่างละเอียดว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งสาเหตุ อาการ และทางเลือกในการรักษา ใครอยากรู้แบบละเอียดก็มาอ่านไปพร้อมๆ กันได้เลย

สารบัญ

ตุ่มใสในปากคืออะไร?

ตุ่มใสในปาก หรือถุงน้ำในช่องปาก บางคนอาจจะเรียกว่าแผลร้อนใน เป็นลักษณะก้อนถุงส่วนเกินที่เต็มไปด้วยของเหลวซึ่งจะก่อตัวขึ้นภายในช่องปาก ตุ่มใสเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นที่ริมฝีปาก เหงือก ลิ้น หรือบนเพดานปาก โดยปกติแล้ว ตุ่มใสในปากที่เกิดขึ้น มักไม่ได้ทำให้รู้สึกหรือปวด แต่อาจจะทำให้รู้สึกระคายเคือง หรือก่อความรำคาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าก้อนตุ่มใสนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้น

ตุ่มใสที่เกิดขึ้นบนริมฝีปาก

ประเภทของตุ่มใสในปาก

ตุ่มใสในปากมีหลายประเภท แต่ที่พบบ่อยที่สุดมี 2 ประเภท ได้แก่

A. ต่อมน้ำลายอุดตัน (Mucocele)

ต่อมน้ำลายอุดตัน เกิดจากการอุดตันของต่อมน้ำลาย ทำให้เกิดการคั่งบวมภายในเนื้อเยื่อรอบบริเวณ มักมีสาเหตุมาจากการกระทบกระเทือน หรือบาดเจ็บในบริเวณนั้นบ่อยๆ ลักษณะเมื่อเกิดการอุดตันของต่อมน้ำลาย จะปรากฏเป็นตุ่มน้ำใส ทรงกลมสีฟ้า สามารถเป็นๆ หายๆ ได้ มักพบบริเวณ ริมฝีปากล่างหรือแก้มด้านใน

B. ถุงน้ำปลายรากฟัน (Radicular cyst) หรือถุงน้ำรอบรากฟัน (Periapical cyst)

ถุงน้ำปลายรากฟัน หรือที่เรียกว่าซีสต์เรดิคูลาร์ เป็นถุงน้ำที่พบได้บ่อยที่สุดในจำพวกถุงน้ำที่เกิดบริเวณขากรรไกร มักเกิดขึ้นบริเวณรอบๆ รากของฟันที่เสียหายหรืออักเสบติดเชื้อ ก้อนเนื้อหรือตุ่มใสเหล่านี้ สามารถขยายตัวได้ใหญ่พอสมควรและสามารถทำให้กระดูกฟันถูกทำลายได้ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา

สาเหตุของการเกิดตุ่มใสในปาก

สาเหตุของตุ่มใสในปากอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิด แต่สาเหตุหลักที่พบได้ทั่วไป ได้แก่

การบาดเจ็บ: เกิดจากการที่เรากัด หรือเกิดการบาดเจ็บในช่องปากโดยไม่ตั้งใจ บางครั้งอาจเกิดจากการดูดเนื้อเยื่อบริเวณฟันหรือกระพุ้งแก้มเล่น ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดตุ่มใสหรือก้อนส่วนเกินขึ้นมาได้
สุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดี: การดูแลช่องปากเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากดูแลสุขอนามัยในช่องปากไม่เหมาะสมอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค ทำให้เกิดการติดเชื้อและเกิดถุงน้ำรอบๆ รากฟัน จนกลายเป็นตุ่มใสในปากได้
ต่อมน้ำลายอุดตัน: เป็นภาวะที่ท่อน้ำลายเกิดความเสียหายหรือเกิดการอุดตันจนเกิดเป็นตุ่มบวม มักจะเกิดบริเวณใกล้ริมฝีปาก แต่ในบางกรณีก็อาจเกิดขึ้นที่บริเวณอื่นภายในช่องปากได้เช่นกัน เช่น เหงือก เพดานปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น หรือใต้ลิ้น

การระบุอาการ

คนที่มีตุ่มใสในปาก ไม่มีอาการแสดงให้เห็นได้ชัดนัก เพราะตุ่มใสในปาก มักไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด แต่อาจจะสังเกตอาการได้ดังต่อไปนี้:

  • มีตุ่มหรือก้อนปรากฏในปาก อาจมีลักษณะเป็นสีฟ้าหรือลักษณะใส
  • เกิดอาการบวมหรืออักเสบรอบบริเวณที่เป็นตุ่มใสในปาก
  • รู้สึกระคายเคืองในช่องปาก ซึ่งจะเกิดขึ้นหากตุ่มใสมีขนาดใหญ่ขึ้น

หากเกิดตุ่มใสในปากแล้ว อาการใดบ้างเป็นสัญญาณที่บอกว่าเราควรขอคำแนะนำจากแพทย์

แม้ว่าตุ่มใสในปากส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตรายและอาจหายเองได้ แต่เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์:

  • ตุ่มใสอยู่ในช่องปาก นานกว่าสองสัปดาห์
  • ตุ่มใสในปากทำให้เกิดความเจ็บปวดรำคาญ
  • ตุ่มใสในปากมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วหรือมีขนาดใหญ่ผิดปกติ
  • ตุ่มใสในปากทำให้มีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การกิน การพูด หรือการกลืน

การวินิจฉัยและการรักษา

การวินิจฉัยและรักษาตุ่มใสในปาก ทันตแพทย์จะทำการตรวจช่องปากอย่างละเอียด โดยใช้การเอ็กซเรย์หรือการสแกน MRI ซึ่งตัวเลือกการรักษาตุ่มใสในปากขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรง อาจรวมไปถึง

  • สังเกตการณ์ หากตุ่มใสมีขนาดเล็กและไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง แพทย์จะแนะนำให้ปล่อยไว้ก่อนเพื่อสังเกตอาการ
  • ระบายของเหลว ในกรณีที่เป็นตุ่มใสมีน้ำ แพทย์อาจเลือกใช้วิธีการระบายของเหลวของจากตุ่มน้ำนั้น
  • ผ่าตัด ถ้าตุ่มใสในปากมีขนาดใหญ่เกินไปหรือไม่หายไปเอง ทันตแพทย์จะเลือกวิธีผ่าตัดเอาตุ่มใสในปากออก

วิธีรักษาตุ่มใสในปากด้วยตนเอง

อย่างที่กล่าวข้างต้นว่า การรักษาตุ่มใสในปากโดยทันตแพทย์จะจำเป็นในกรณีที่มีอาการรุนแรง แต่คนที่มีตุ่มใสในปากที่ไม่รุนแรง ในเบื้องต้นสามารถลองรักษาตุ่มใสในปากด้วยตนเองได้ดังต่อไปนี้:

  • การบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ: การบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ จะช่วยทำให้บริเวณนั้นสะอาดและช่วยลดการอักเสบลงได้
  • ใช้น้ำแข็งประคบ: การประคบเย็นสามารถช่วยลดอาการบวมและชาบริเวณตุ่มใสในปากได้
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองในช่องปาก งดการบริโภคอาหารรสเผ็ดหรือเปรี้ยวจัด เพราะอาหารเหล่านี้ อาจจะทำให้ตุ่มใสในปากเกิดอาการบวมหรืออักเสบมากขึ้นกว่าเดิมได้

วิธีการป้องกัน

การป้องกันตุ่มใสในปากไม่ให้เกิดขึ้น สามารถทำได้ด้วยวิธีง่ายๆ เหล่านี้:

  • รักษาสุขอนามัยช่องปากอย่างสม่ำเสมอ: ดูแลรักษาช่องปาก ด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำเพื่อให้ช่องปากสะอาดและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อภายในปาก
  • ระมัดระวัง ปกป้องช่องปาก หากต้องเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาที่รุนแรง: ในบางกีฬาที่มีโอกาสในการปะทะหรือมีการกระแทกสูง ควรใส่ฟันยางเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจจะนำไปสู่การเกิดตุ่มใสในปาก
  • หลีกเลี่ยงการกัดวัตถุแข็งที่ไม่จำเป็น: หลีกเลี่ยงการกัดวัตถุแข็ง เช่น น้ำแข็งหรือปากกา รวมถึงการใช้ลิ้นดุนช่องปากเล่น เพราะอาจทำให้ช่องปากเกิดการบาดเจ็บได้

ผลกระทบต่อสุขภาพช่องปาก

ตุ่มใสในปากบางครั้งอาจทำให้สุขภาพช่องปากแย่ลง ซึ่งนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น:

  • รู้สึกระคายเคืองในช่องปาก: ตุ่มใสที่มีขนาดใหญ่ขึ้นอาจทำให้รู้สึกระคายเคือง ใช้ชีวิตประจำวันไม่สะดวก ทำให้การเคี้ยวหรือพูดลำบาก
  • มีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น: ตุ่มใสในปากอาจอักเสบติดเชื้อ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาสุขภาพช่องปากที่รุนแรงยิ่งขึ้น
  • ฟันอาจจะเคลื่อนที่: ในบางกรณี ตุ่มใสที่เกิดขึ้นอาจทำให้ฟันข้างๆ บริเวณตุ่มใสนั้นเกิดการเคลื่อนตัวเปลี่ยนตำแหน่งได้

ตุ่มใสในปากกับแผลในปาก

ตุ่มใสในปากมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นชนิดเดียวกันกับแผลในปาก แต่ความจริงแล้วเป็นอาการที่แตกต่างกัน ตุ่มใสในปากจะเป็นถุงใสที่เต็มไปด้วยของเหลวใต้ผิวหนัง ส่วนแผลในปากนั้นจะตื้นและมีลักษณะเป็นปื้นสีแดงหรือสีเหลือง ไม่เหมือนกับตุ่มใสที่จะมีของเหลวอยู่ข้างใน

ตุ่มใสในปากและมะเร็งช่องปาก

ตุ่มใสในปากไม่เป็นอันตรายและไม่เกี่ยวข้องกับมะเร็งในช่องปาก แต่หากสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่แปลกออกไป เช่น มีแผลเกิดขึ้นถาวร มีก้อนเนื้อเกิดขึ้น หรือสีตรงบริเวณตุ่มใสนั้นเปลี่ยนไป DragCura ขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อจะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

ตุ่มใสในปากที่เกิดขึ้นในเด็ก

ตุ่มใสในปากสามารถเกิดขึ้นในเด็กได้เช่นกัน ซึ่งผู้ใหญ่หลายๆคน อาจมีความกังวลว่าจะเป็นอันตรายหรือไม่ อันที่จริงแล้วตุ่มใสในปากในเด็กนั้น ไม่ร้ายแรงอย่างที่คิด และสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่ถ้าเกิดสิ่งผิดปกติที่มากกว่าตุ่มใสในปาก DragCura จะขอแนะนำให้ปรึกษาทันตแพทย์สำหรับเด็กทันที

การจัดการเกี่ยวกับข้อกังวลโดยทั่วไป

ตุ่มใสในปากมีสิทธิแตกออกมาได้หรือไม่?

ตุ่มใสในปากมีสิทธิแตกได้ หากถูกกัดหรือได้รับบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งเมื่อตุ่มใสในปากแตกแล้ว ของเหลวในตุ่มใสก็จะไหลออกมา และหลังจากนั้นตุ่มใสในปากจะหายไปเองตามธรรมชาติ แต่ถ้าหากบริเวณตรงนั้นไม่สะอาดเพียงพอ อาจจะเกิดการอักเสบติดเชื้อได้ และเมื่อเกิดการติดเชื้อขึ้น DragCura จะขอแนะนำให้พบทันตแพทย์ทันที

ตุ่มใสในปากสามารถก่อให้เกิดมะเร็งในช่องปากได้หรือไม่?

ตุ่มใสในปากส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตรายและไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่ถ้าหากมีข้อกังวลเกี่ยวกับตุ่มใสในปากหรือสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง DragCura จะขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรักษาได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที

ความเครียดจะไม่ทำให้เกิดตุ่มใสในปากโดยตรง แต่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ส่งผลทำให้ร่างกายติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดตุ่มใสในปากได้

การเจาะตุ่มใสในปากปลอดภัยหรือไม่?

ไม่แนะนำให้พยายามเจาะหรือดูดตุ่มใสในปากด้วยตัวเอง เพราะถ้าหากการเจาะตุ่มใสนั้นไม่ได้มีขั้นตอนที่สะอาดเพียงพอ หลังการเจาะตุ่มใสอาจจะเกิดการอักเสบติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ DragCura ขอแนะนำว่าควรไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการเจาะตุ่มใสจะปลอดภัยมากที่สุด

ความเครียดทำให้เกิดตุ่มใสในปากได้หรือไม่?

ความเครียดจะไม่ทำให้เกิดตุ่มใสในปากโดยตรง แต่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ส่งผลทำให้ร่างกายติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดตุ่มใสในปากได้

ตุ่มใสในปากสามารถหายได้เองหรือไม่?

ในบางกรณี ตุ่มใสในปากที่มีขนาดเล็กอาจหายได้เองโดยไม่ต้องมีการรักษา แต่อย่างไรก็ตาม หากตุ่มใสในปากไม่หายไปเอง หรือมีขนาดใหญ่ขึ้น ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับการประเมินและการรักษาที่เหมาะสม

บทสรุป

ตุ่มใสในปาก อาจจะดูน่าวิตกกังวล แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันไม่เป็นอันตรายและสามารถรักษาได้ เมื่อเราเข้าใจถึงสาเหตุ อาการ และทางเลือกในการรักษา โปรดจำไว้ว่า การรักษาสุขอนามัยช่องปากที่ดีจะสามารถช่วยป้องกันการเกิดตุ่มใสในปากของเราได้ และอย่าลังเลที่จะเข้าพบผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม เมื่อคุณมีความผิดปกติในช่องปาก


คำถามที่พบบ่อย

ตุ่มใสในปากคืออะไร

ตุ่มใสในปากเป็นถุงน้ำที่เกิดขึ้นภายในปาก สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากต่อมน้ำลายอุดตัน จะมีอาการเจ็บบ้างเล็กน้อยเพียงแต่สร้างความรำคาญเท่านั้น

ตุ่มใสในปากมีกี่ประเภท

ตุ่มใสในปากที่พบได้บ่อยมี 2 ประเภท ประเภทแรกคือต่อมน้ำลายอุดตันซึ่งพบได้บ่อยมากที่สุด และอีกแบบคือ ถุงน้ำปลายรากฟันซึ่งไม่ได้ขึ้นให้เห็นได้ในช่องปาก

ตุ่มใสในปากอาจจะเป็นมะเร็งได้หรือไม่

ตุ่มใสในปากส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตราย และไม่ใช่มะเร็ง แต่การเปลี่ยนแปลงจากตุ่มใสที่ผิดลักษณะหรือใหญ่ขึ้น อาจจะต้องพบแพทย์เพื่อการประเมินและรักษาที่ถูกต้อง

การเจาะตุ่มใสในปากเองปลอดภัยไหม

ไม่ปลอดภัย เพราะการพยายามเจาะหรือระบายตุ่มใสในปากด้วยตัวเองอาจนำไปสู่การติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนได้ ควรปรึกษาทันตแพทย์

ตุ่มใสในปากสามารถหายได้เองไหม

ตุ่มใสที่มีขนาดเล็กอาจหายได้เอง แต่ตุ่มใสที่ไม่หายไปเองหรือมีขนาดใหญ่ควรได้รับการประเมินโดยทันตแพทย์

คำเตือน: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม