กระพุ้งแก้มบวม ทำความเข้าใจอาการ สาเหตุ และวิธีการรักษา

กระพุ้งแก้มบวมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบติดเชื้อเกิดขึ้นบริเวณกระพุ้งแก้ม อาการบวมอาจจะเกิดขึ้นที่แก้มข้างใดข้างหนึ่งของใบหน้า หรืออาจเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสองข้างได้ ในบางกรณี กระพุ้งแก้มที่บวมอาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่รุนแรง เช่น นิ่วในต่อมน้ำลาย เนื้องอก หรือเนื้อเยื่อเซลล์อักเสบ เราควรรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อประเมินอาการและรักษาได้อย่างรวดเร็วเพื่อลดความเสี่ยงของอาการที่จะรุนแรงขึ้นได้ ในบทความนี้เราจะมาดูอย่างละเอียด เกี่ยวกับกระพุ้งแก้มบวม ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง รวมถึงวิธีการรักษาเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการ ไปเจาะลึกพร้อมกันเลย!

รูปภาพจาก pediatricdentistsf.dentist

กระพุ้งแก้มบวมคืออะไร?

กระพุ้งแก้มบวมคือการขยายหรือบวมของแก้มข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจจะเกิดขึ้นทั้งสองข้างพร้อมกัน สาเหตุมาจากหลายปัจจัย และมีอาการที่แสดงออกของการบวมแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แม้ว่าบางครั้งอาการบวมอาจเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยและเกิดขึ้นชั่วคราว แต่ในบางกรณีอาการบวมของกระพุ้งแก้ม ก็กำลังบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพที่คุณควรให้ความสนใจ

สาเหตุทั่วไป

กระพุ้งแก้มบวมเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุทั่วไป ได้แก่

  • การติดเชื้อในฟัน: การติดเชื้อในฟันหรือเหงือกอาจทำให้แก้มบวมบริเวณแก้มได้
  • การบาดเจ็บที่ใบหน้า: การบาดเจ็บที่ใบหน้า อาจทำให้เกิดอาการบวมและฟกช้ำได้
  • ความผิดปกติของต่อมน้ำลาย: สภาวะที่ส่งผลต่อต่อมน้ำลายอาจทำให้แก้มบวมได้
  • อาการแพ้: การแพ้อาจทำให้ใบหน้าบวม ลามไปถึงแก้มได้
  • ถุงน้ำหรือฝี: การก่อตัวของถุงน้ำหรือฝีในกระพุ้งแก้มอาจทำให้เกิดอาการบวมที่เห็นได้ชัดเจน
  • การติดเชื้อที่ผิวหนัง: ภาวะติดเชื้อบริเวณผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ส่งผลให้มีอาการบวมแดง ปวด หรือร้อนบริเวณที่มีการติดเชื้อ
  • การทำหัตถการในช่องปาก: อาการบวม อาจเป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากการทำหัตถการทางทันตกรรมบางอย่างในช่องปาก
  • การติดเชื้อไซนัส: การติดเชื้อในไซนัสอาจทำให้ใบหน้าบวม จมูกบวม รวมถึงแก้มด้วย

อาการที่ต้องระวัง

เมื่อต้องรับมือกับอาการกระพุ้งแก้มบวม มีอาการหลายอย่างที่คุณต้องสังเกต ดังต่อไปนี้

  • อาการบวมที่มองเห็นได้: แก้มบวม หรือขยายอย่างเห็นได้ชัด
  • ปวดหรือกดเจ็บ: รู้สึกไม่สบาย หรือเจ็บบริเวณที่เป็น
  • ความแดงหรือความอุ่น: แก้มอาจแดง และรู้สึกอุ่นเมื่อสัมผัส
  • ไข้: ในบางกรณี กระพุ้งแก้มบวมอาจมีไข้ร่วมด้วย
  • การเคี้ยวหรือพูดคุยลำบาก: การบวมอย่างรุนแรง อาจทำให้เคลื่อนไหวปากตามปกติได้ลำบาก

ความสำคัญของการรักษาอย่างทันท่วงที

การละเลยอาการกระพุ้งแก้มบวม อาจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องได้รับการรักษาทันทีจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ถูกต้อง และป้องกันการติดเชื้อรุนแรง ทำให้อาการแย่ลงได้

การวินิจฉัยกระพุ้งแก้มบวม

เพื่อหาสาเหตุของอาการกระพุ้งแก้มบวม แพทย์จะทำการตรวจอย่างละเอียด ดังนี้

  • ประวัติทางการแพทย์: ตรวจสอบประวัติย้อนหลังทางการแพทย์ของผู้ป่วยและประวัติการรักษาล่าสุด
  • การตรวจร่างกาย: ตรวจดูบริเวณแก้มที่มีการบวมแดงอักเสบ เมื่อกดลงไปในส่วนที่บวมแดงว่ามีอาการเจ็บหรือไม่ เพื่อประเมินการ
  • การเอ็กซเรย์: การเอ็กซ์เรย์ การสแกน CT หรือ MRI เพื่อตรวจสอบวินิจฉัยอาการได้อย่างละเอียด
  • การตรวจเลือด: การวิเคราะห์ตัวอย่างเลือด เพื่อระบุการติดเชื้อหรือความผิดปกติอื่นๆ

การรักษาด้วยการผ่าตัด

ในกรณีที่รุนแรงหรือเรื้อรัง อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อระบุสาเหตุของกระพุ้งแก้มที่บวม โดยแบ่งการผ่าตัดออกได้หลายประเภท ได้แก่

  • การระบายของเหลวออกจากก้อนบวม: อาจต้องมีการระบายของเหลวออกโดยการผ่าตัดสำหรับก้อนบวมที่ติดเชื้อ
  • การซ่อมแซมท่อน้ำลาย: อาจมีการอุดตัน หรือการตีบตันในท่อน้ำลายจนเกิดอาการบวมขึ้น ต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัด
  • การกำจัดเนื้องอก: หากสาเหตุของการบวมคือเนื้องอก จำเป็นต้องมีการผ่าตัดส่วนที่เป็นเนื้องอกออกไป
  • การติดตามผลหลังผ่าตัดช่องปาก: หลังขั้นตอนทางทันตกรรมต้องติดตามผลเผื่อประเมินอาการ เพราะในบางกรณีอาจะต้องมีการผ่าตัดเพิ่มเติม

วิธีการดูแลตนเอง

นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว ยังมีวิธีการดูแลตนเองที่สามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบบวม ไม่สบายได้

  • พักผ่อนและยกศีรษะสูง: การพักผ่อนให้เพียงพอ และการยกศีรษะขึ้นสูงสามารถลดอาการบวมได้
  • หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น: หากการแพ้เป็นสาเหตุ การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จะสามารถป้องกันอาการแทรกซ้อนของโรคได้
  • สุขอนามัยช่องปากที่ดี: การรักษาสุขอนามัยช่องปากที่เหมาะสมสามารถป้องกันการติดเชื้อได้
  • การประคบเย็น: การประคบเย็นสลับกับการประคบอุ่นช่วยบรรเทาอาการได้

เคล็ดลับการป้องกัน

แม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการกระพุ้งแก้มบวมได้ แต่ก็มีวิธีที่คุณสามารถทำได้เพื่อลดความเสี่ยง

  • ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ: กำหนดเวลาพบทันตแพทย์เป็นประจำเพราะหากมีอาการผิดปกติ จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
  • รับประทานอาหารอย่างเหมาะสม: อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและส่งเสริมให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่: การสูบบุหรี่อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากและทำให้แผลหายช้า
  • คงความชุ่มชื้นไว้: การดื่มน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นในปริมาณที่เหมาะสม ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าจะมีการผลิตน้ำลายอย่างเพียงพอ สามารถป้องกันการเกิดโรคได้

ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

แม้ว่าอาการกระพุ้งแก้มบวมบางกรณีอาจหายได้เอง แต่บางกรณีจำเป็นต้องไปพบแพทย์ทันที

  • ไข้สูง: หากมีอาการบวมพร้อมกับไข้สูง ควรรีบไปพบแพทย์
  • อาการปวดรุนแรง: หากมีอาการปวดเจ็บรุนแรง ควรเข้าพบแพทย์ทันที เพราะความรุนแรงอาจเพิ่มมากขึ้นจนทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิมได้
  • หายใจลำบาก: อาการบวมที่ใบหน้าส่งผลไปถึงระบบทางเดินหายใจ ควรได้รับการวินิจฉัยประเมินอาการทันที
  • สัญญาณของการติดเชื้อ: หากมีการบวมแดง รู้สึกอุ่นบริเวณที่บวม และมีหนอง แสดงว่าอาจติดเชื้อ
  • อาการบวมแบบยาวนาน: หากอาการบวมยังคงอยู่นานกว่า 2-3 วัน ให้รีบไปพบแพทย์

สรุป

โดยสรุปแล้ว กระพุ้งแก้มบวมอาจเป็นอาการที่น่ากังวลใจ แต่หาได้รับการรักษาและประเมินอาการอย่างรวดเร็วและทันท่วงที จะสามารถจัดการกับโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณมีอาการกระพุ้งแก้มบวมเรื้อรังหรือเจ็บปวดอย่างรุนแรง ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบเข้าพบกับผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมเพื่อตรวจวินิจฉัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างทันท่วงที โปรดจำไว้ว่าการรักษาสุขอนามัยในช่องปากที่ดีจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของคุณ ทั้งยังช่วยป้องกันอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตอีกด้วย


คำถามที่พบบ่อย

กระพุ้งแก้มบวมเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้หรือไม่

ได้ ในบางกรณี กระพุ้งแก้มที่บวมอาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่รุนแรง เช่น นิ่วในต่อมน้ำลาย เนื้องอก หรือเนื้อเยื่อเซลล์อักเสบ การขอรับการประเมินทางการแพทย์เป็นสิ่งสำคัญในการตรวจสอบว่าอาการที่คุณเป็นอยู่เป็นสัญญาณของสุขภาพร้ายแรงหรือไม่

อาการแพ้ทำให้กระพุ้งแก้มบวมได้หรือไม่

ได้ การแพ้อาจทำให้ใบหน้าบวมรวมทั้งแก้มด้วย อาการแพ้อาจเกิดขึ้นจากสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น อาหาร ยา หรือปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

มีวิธีดูแลตนเองที่บ้านเพื่อลดกระพุ้งแก้มบวมหรือไม่

ได้ การประคบอุ่น ใช้ยาบรรเทาปวดที่จำหน่ายที่ร้านขายยา และการรักษาสุขอนามัยช่องปากที่ดีคือวิธีการดูแลตนเองเบื้องต้น ที่อาจช่วยลดอาการบวมที่แก้มได้

กระพุ้งแก้มบวม เจ็บตลอดไหม

ไม่จำเป็น หลายกรณีอาจรู้สึกเจ็บปวดหรือไม่สบาย แต่บางกรณีอาจมีอาการบวมโดยไม่มีอาการปวดมาก

สุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดี ส่งผลให้กระพุ้งแก้มบวมได้หรือไม่

ได้ สุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดีอาจนำไปสู่การติดเชื้อในช่องปาก ซึ่งอาจทำให้แก้มบวมเฉพาะที่ การตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำและการดูแลช่องปากอย่างเหมาะสมสามารถช่วยป้องกันปัญหาดังกล่าวได้

คำเตือน: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม