จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณไม่แปรงฟัน
เมื่อคุณละเลยการแปรงฟัน ฟิล์มบางๆ ของแบคทีเรียที่เรียกว่าคราบจุลินทรีย์จะก่อตัวขึ้นบนผิวฟัน การสะสมของคราบจุลินทรีย์นี้สามารถนำไปสู่ กลิ่นปากที่ไม่พึงประสงค์ ฟันผุ เหงือกอักเสบ อาจลุกลามไปถึงขั้นสูญเสียฟันได้
คำเตือน: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
รู้ไหมว่าเรื่องเหล่านี้ แก้ได้ด้วยแปรงสีฟัน
เรื่องของการแปรงฟัน ถ้าเราดูแลไม่ดีอาจมีผลเสียตามมาได้ไม่ว่าจะการเสียวฟัน, เลือดออกตามไรฟัน, มีกลิ่นลมหายใจ, ฟันเหลือง หรือเหงือกร่น สารพัดปัญหาต่าง ๆ นี้ เราอยากบอกว่าจริง ๆ แล้วสามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้เพียงแค่ “เลือก” แปรงสีฟันที่ใช่ และดูแลอย่างถูกวิธี
งานนี้ DragCura ขอแนะนำว่าแต่ละปัญหาป้องกันด้วยแปรงสีฟันได้อย่างไร และควรเลือกแปรงแบบไหน รับรองว่าคุณจะไม่มองแปรงสีฟันเหมือนเดิมอีกต่อไป
อาการเสียวฟัน อาจเกิดได้จากหลายกรณีซึ่งแปรงสีฟันเองก็มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง เพราะการที่เราใช้แปรงสีฟันขนแข็ง ที่หลายคนเข้าใจว่าทำความสะอาดฟันได้ดีนั้น เวลาที่เราออกแรงแปรงฟันแรง ๆ สิ่งที่ตามมาคือ อาจทำให้เหงือกหรือผิวฟันได้รับความเสียหาย จนคอฟันสึก หรือทำให้ฟันบางลงจนถึงเนื้อฟันชั้นในที่มีโพรงประสาทของฟัน
คราวนี้เมื่อเรารับประทานของเย็น หรือฟันกระทบกับอะไรสักอย่าง รวมถึงโดนสารบางอย่างในช่องปากกระตุ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว ทำให้เราเสียวฟันได้ง่ายขึ้น หากละเลยก็จะเป็นผลเสียจนต้องรักษารากฟัน
ดังนั้นการเลือกแปรงสีฟัน ขนนุ่มพอดี จึงเป็นส่วนสำคัญในการช่วยป้องกันการเสียวฟันได้ทางหนึ่งนั่นเอง
แปรงฟันอยู่ดี ๆ ก็มีเลือดออก บอกก่อนว่านี่ไม่ใช่เรื่องปกติ ซึ่งอาจมีหลายสาเหตุด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือการออกแรงแปรงฟันที่แรงเกินไป รวมถึงขนแปรงที่แข็งหรือมีปลายแหลมเกินไปนั่นเอง
ทั้งนี้ปลายขนแปรงที่กรมอนามัย ระบุเป็นมาตรฐานก็คือปลายแบบกลมมน (Round Ended) เพื่อการทำความสะอาดที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงปลอดภัยต่อเหงือกและฟัน ดังนั้นการเลือกแปรงที่มีปลายขนแปรงแบบนี้ ก็มีส่วนช่วยลดโอกาสการเกิดเลือดออกตามไรฟันได้เช่นกัน
เรื่องกลิ่นปาก ถือเป็นเรื่องใหญ่พอควรเพราะส่งผลต่อความมั่นใจของเราโดยตรง โดยสาเหตุหนึ่งที่หลายคนอาจเป็นได้ไม่รู้ตัว ก็คือการที่มีเศษอาหารหลงเหลืออยู่ในช่องปาก หรือแปรงฟันไม่สะอาดทั่วถึงแน่นอน โดยส่วนนี้อาจแก้ได้ด้วยการใช้แปรงกระจุก เข้าไปทำความสะอาดในส่วนที่แปรงสีฟันทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง หรือใช้แปรงซอกฟันร่วมด้วย
ทั้งนี้หากเรามั่นใจว่าแปรงฟันสะอาดดีพอแล้ว แต่ยังมีกลิ่นอยู่ แนะนำให้พบทันตแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เพราะบางครั้งกลิ่นนั้นอาจเป็นสัญญาณของโรคในช่องปาก หรือเกิดฟันผุโดยที่เราไม่รู้ตัวก็เป็นได้
เรื่องของฟันเหลือง อาจเกิดขึ้นได้จากการที่เราแปรงฟันไม่สะอาดดีพอ แล้วทำให้มีคราบพลัคหลงเหลือบนผิวฟัน เมื่อเวลานานไปทำให้คราบนิ่ม ๆ แข็งตัวและมีสีเหลือง ทำให้ เกิดฟันเหลืองในที่สุด
โดยส่วนที่คราบพลัคเกาะที่มาที่สุดคือบริเวณขอบเหงือก ซึ่งเป็นบริเวณที่หลาย ๆ คนอาจไม่ชอบแปรงไปโดน แต่ถ้าหากเราเลือกแปรงสีฟันที่ขนนุ่ม มีปลายขนกลมมน จะทำให้การแปรงไปที่บริเวณขอบเหงือกเป็นเรื่องง่าย เพราะขนแปรงไม่ทำร้ายเหงือกให้เป็นแผลหรือเจ็บนั่นเอง
แต่ถ้าหากลองเปลี่ยนแปรงแล้ว แปรงอย่างทั่วถึงแล้ว แต่ยังฟันเหลืองอยู่ ก็อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่นมาจากพฤติกรรมสูบบุหรี่ ชอบดื่มชากาแฟบ่อย ๆ หรืออาจจะเกิดจากการเปลี่ยนสีของเนื้อฟันภายใน ซึ่งเรื่องนี้สามารถพบทันตแพทย์เพื่อหาคำตอบได้
หนึ่งในปัญหาใหญ่ที่หลายคนเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติ เมื่ออายุมากขึ้นเหงือกเราก็เสื่อมตาม แต่ว่าที่จริง ๆ แล้วปัญหาเหงือกร่นมีสาเหตุจากการดูแลฟันไม่ดีร่วมด้วย อย่างการเลือกแปรงสีฟัน ต้องเข้าใจก่อนว่าเหงือกคือเนื้อเยื่อที่บอบบางมาก หากเลือกแบบขนแปรงแข็ง เมื่อถูโดนเหงือกจะทำให้เหงือกเป็นแผล นานวันไปเหงือกค่อย ๆ ถูกทำร้ายจนเนื้อเยื่อค่อย ๆ ร่นในที่สุด และอาจทำให้เสียฟันแท้ได้ในที่สุด
ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงจริง ๆ ก็คือการเลือกแปรงที่มีขนนุ่มอย่างเหมาะสม และไม่ใช้แรงมากเกินไป เท่านี้ก็ป้องกันการเป็นเหงือกร่นได้แล้ว
เพราะเรารู้ว่าแปรงที่ดีต้องมีขนนุ่มแบบพอดี และได้รับการยอมรับจากทันตแพทย์ ว่าปลอดภัยเป็นมิตรต่อเหงือกและฟัน เราจึงตั้งใจคัดสรรแปรงสีฟันจากแบรนด์ชั้นนำ และเหมาะกับทุกเพศทุกวัย
นอกจากนี้เรายังมี Personal Curator คอยให้คำแนะนำเรื่องการเลือกแปรงสีฟันด้วย เพื่อให้คุณได้ใช้แปรงที่เหมาะสม และช่วยดูแลรอยยิ้มของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำเตือน: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม