จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณไม่แปรงฟัน
เมื่อคุณละเลยการแปรงฟัน ฟิล์มบางๆ ของแบคทีเรียที่เรียกว่าคราบจุลินทรีย์จะก่อตัวขึ้นบนผิวฟัน การสะสมของคราบจุลินทรีย์นี้สามารถนำไปสู่ กลิ่นปากที่ไม่พึงประสงค์ ฟันผุ เหงือกอักเสบ อาจลุกลามไปถึงขั้นสูญเสียฟันได้
คำเตือน: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
เรามีฟันกี่ซี่? หลังจากฟันน้ำนมทั้ง 20 ซี่ หลุดออกไปหมดแล้ว จะเกิดฟันแท้ขึ้น ซึ่งฟันแท้ของมนุษย์จะมีทั้งหมด 32 ซี่ ประกอบด้วยฟันหน้า 8 ซี่ เขี้ยว 4 ซี่ ฟันกรามน้อย 8 ซี่ และฟันกราม 12 ซี่ (รวมฟันคุด4ซี่) ซึ่งฟันแท้เหล่านี้จะถูกออกแบบมา ให้มีอายุการใช้งานยาวนาน ดังนั้นการดูแลฟันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง บทความนี้ DragCura จะมาตอบคำถามเรื่องเรามีฟันกี่ซี่ พร้อมทั้งแนะนำการดูแลรักษาอย่างละเอียด ตามไปดูกันเลย!
คุณเคยสงสัยใช่ไหมว่า จริงๆแล้วมีฟันที่อยู่ในปากของคุณกี่ซี่? ในชีวิตประจำวันของเรา “ฟัน” มีบทบาทหน้าที่สำคัญอย่างมาก ตั้งแต่การเคี้ยวบดอาหารที่เราต้องใช้ดำรงชีวิต รวมถึงการพูดคุย แสดงสีหน้าต่างๆ ในบทความนี้ เราจะพาไปสำรวจเรื่องราวอันน่าทึ่งของฟัน พร้อมกับตอบคำถามที่คุณสงสัยอย่างละเอียดว่า “ฟันมีกี่ซี่”
ตั้งแต่เกิด ฟันชุดแรกที่ขึ้นมาในปากของทารก เรียกว่า “ฟันน้ำนม” ฟันซี่เล็กๆ ที่น่ารักเหล่านี้ปรากฎขึ้นมาเมื่อเราอายุได้ 6 เดือน และเมื่อเข้าสู่วัยประมาณ 3 ขวบ เด็กส่วนใหญ่จะมีฟันน้ำนมครบ 20 ซี่ เจ้าฟันเล็กๆ สีขาวมุกเหล่านี้ จะเรียงตัวจัดตำแหน่งกันอย่างสวยงาม เพื่อพร้อมสำหรับฟันแท้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เมื่อเราเติบโตขึ้น ฟันน้ำนมของเราจะเริ่มหลุด เพื่อให้มีพื้นที่ว่างสำหรับฟันผู้ใหญ่หรือที่เรียกว่า “ฟันแท้” ปกติแล้วฟันแท้จะมีทั้งหมด 32 ซี่ ประกอบด้วยฟันหน้า 8 ซี่ เขี้ยว 4 ซี่ ฟันกรามน้อย 8 ซี่ และฟันกราม 12 ซี่ (รวมฟันคุด 4 ซี่) ซึ่งฟันแท้เหล่านี้จะถูกออกแบบมา ให้มีอายุการใช้งานยาวนาน ดังนั้นการดูแลฟันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเราต้องใช้ฟันแท้ ในการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งการกิน บด เคี้ยว การพูด การแสดงสีหน้า เมื่อคุณมีสุขภาพฟันที่ดีแล้ว สิ่งนี้ยังสามารถส่งเสริมบุคลิกของคุณให้ดีขึ้นได้อีกด้วย
เพื่อให้เข้าใจอย่างละเอียดเกี่ยวกับฟันของเรา สิ่งสำคัญที่เราต้องรู้คือ โครงสร้างของฟัน ฟันแต่ละซี่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ตัวฟัน ส่วนเคลือบฟัน ส่วนเนื้อฟัน เยื่อและรากฟัน ส่วนตัวฟัน เป็นสิ่งที่เราเห็นภายนอกได้ชัดที่สุด จะถูกครอบด้วยชั้นเคลือบฟัน ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งที่สุด เป็นชั้นแร่ที่อยู่ชั้นนอกสุดของฟัน ใต้ส่วนที่เคลือบฟันคือเนื้อฟันซึ่งล้อมรอบส่วนที่เป็นเนื้ออ่อน ที่มีเส้นประสาทและเส้นเลือด ส่วนของรากฟันจะมีหน้าที่ยึดฟันไว้ที่กระดูกขากรรไกร ทำให้ฟันยึดอยู่ได้อย่างมั่นคง
ฟันแต่ละประเภทมีหน้าที่เฉพาะแตกต่างกันไป ฟันหน้า ทำให้เราสามารถกัดอาหารได้ ฟันเขี้ยว เอาไว้ฉีกอาหาร ฟันกรามน้อยเอาไว้บดอาหาร และฟันกรามทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารในขั้นตอนสุดท้าย หน้าที่ที่แตกต่างกันไปเหล่านี้ ล้วนทำงานสอดคล้องกันได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ทำให้เราสามารถกินอาหารได้หลากหลายประเภท และทำให้เรารักษาคุณค่าทางโภชนาการไว้ได้อย่างเหมาะสม
กระบวนการงอกของฟันที่เกิดขึ้นในช่วงวัยเด็กสู่วัยรุ่น เกิดขึ้นเมื่อฟันน้ำนมหลุดออกและฟันแท้ค่อยๆ โผล่ขึ้นมาจากเหงือก จะมีระยะเวลาและลำดับการงอกของฟันแต่ละตำแหน่งแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่โดยทั่วไปแล้วถ้าไม่มีสิ่งผิดปกติก็จะเป็นไปตามขั้นตอน ผู้ปกครองจึงควรเข้าใจเพราะจะช่วยให้สามารถดูแลบุตรหลานให้ได้รับการดูแลฟันตามช่วงอายุวัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
แม่ว่าโดยปกติแล้วคนเราจะมีฟันแท้ 32 ซี่ แต่บางคนอาจมีน้อยกว่านั้น เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาวะทางทันตกรรม พันธุกรรม และการบาดเจ็บที่ส่งผลกระทบต่อฟัน ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อจำนวนฟันในช่องปาก สิ่งที่สำคัญที่สุดหากสังเกตถึงความผิดของฟัน ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์
ในบางกรณีความผิดปกติทางทันตกรรม อาจทำให้เกิดสภาพฟันที่มีลักษณะเฉพาะและผิดปกติ บางคนอาจมีฟันเกินกว่า 32 ซี่ และบางคนอาจจะฟันหายไปตั้งแต่กำเนิด (ไฮโปดอนเทีย) ทั้งหมดนี้ อาจะส่งผลกระทบกับตำแหน่งของฟันได้
เมื่อได้รู้แล้วว่า “เรามีฟันกี่ซี่” การรักษาสุขภาพฟันให้แข็งแรง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่เราควรปฎิบัติเป็นประจำ มาดูกันดีกว่าว่า จะรักษาสุขภาพฟันอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
อย่างแรกคือการแปรงฟันให้ถูกวิธี อย่างที่สองคือการไม่ลืมใช้ไหมขัดฟัน เพราะจะช่วยทำความสะอาดฟัน ในส่วนที่แปรงไม่ถึงได้ อย่างที่สามคือการตรวจสุขภาพฟันประจำทุก 6 เดือน
เมื่อทำตามนี้แล้วเราก็จะมีสุขภาพอนามัยในช่องหากที่ดี ไม่เพียงจะทำให้ฟันแข็งแรงแล้ว ยังป้องกันปัญหาเกี่ยวกับฟัน เช่น ฟันผุ โรคเหงือก และกลิ่นปากได้อีกด้วย
สุขภาพในช่องปากมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยรวมในร่างกายของเรา ถ้าสุขภาพในช่องปากไม่ดีแล้ว จะส่งผลไปถึงสภาวะระบบต่างๆในร่างกาย เช่นส่งผลต่อการเป็นโรคหัวใจ เบาหวาน และปัญหาระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นเราไม่เพียงแต่ดูแลฟันเพื่อให้เรามีรอยยิ้มที่สวยงามเท่านั้น แต่เรื่องสุขภาพในช่องปากยังส่งผลต่อสุขภาพของร่างกายเราอีกด้วย
เราทุกคนต่างต้องการที่จะมีฟันขาว มีรอยยิ้มที่สดใสดูสวยงาม สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้ด้วยการดูแลฟันอย่างใส่ใจ ตั้งแต่การเลือกใช้ยาสีฟันที่เหมาะสมไปถึงการแปรงฟันที่ถูกต้อง ร่วมกับการใช้น้ำยาบ้วนปากสม่ำเสมอ จะทำให้สุขภาพในช่องปากของเราดี และมีฟันที่ขาวสดใสแข็งแรง
การตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้คุณมีสุขภาพในช่องปากที่ดี เพราะทันตแพทย์คือผู้เชี่ยวชาญที่ดีที่สุดในการทำหน้าที่วินิจฉัย วิเคราะห์รักษา ได้ถึงปัญหาภายในช่องปากของแต่ละบุคคลได้อย่างยอดเยี่ยม พร้อมทั้งให้คำแนะนำอย่างถูกต้องทำให้ฟันของเรามีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ช่วยให้เรามีรอยยิ้มที่มั่นใจ ดังนั้นการเข้าพบทันตแพทย์จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อรักษาฟันของเราไว้ให้อยู่ยาวนานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
มีข้อมูลเกิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน เป็นเรื่องปกติที่เราจะได้รับทราบข้อมูลบางอย่างซึ่งเป็นความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับเรื่องของฟัน ดังนั้นการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดจากแหล่งความรู้ที่น่าเชื่อถือ จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ป้องกันเราจากความเชื่อผิดๆ เหล่านั้น เพื่อให้เราสามารถนำมาใช้ดูแลฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กล่าวโดยสรุป “เรามีฟันกี่ซี่” บทความนี้ ได้ให้คำตอบอย่างละเอียด ตั้งแต่ต้นกำเนิดของฟันน้ำนม นำไปสู่ฟันแท้ที่สมบูรณ์ วิธีการดูแลรักษา และความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ ทำให้เรารู้วิธีการดูแลฟันที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะที่สุด แล้วสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงของช่องปาก นอกจากจะทำให้คุณมีรอยยิ้มที่สดใส ยังนำไปสู่สุขภาพร่างกายโดยรวมที่ดีอีกด้วย
ทารกมีฟันน้ำนม 20 ซี่ และมักจะเริ่มปรากฏเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน
ฟันน้ำนมเกิดขึ้นชั่วคราวและเริ่มหลุดเมื่ออายุได้ 6 ขวบ ทำให้ฟันแท้เกิดขึ้นได้ ซึ่งฟันแท้ จะเป็นฟันชุดหลักที่เราจะใช้ไปจนชั่วชีวิต
ฟันคุดมีประโยชน์สำหรับคนสมัยโบราณของเราที่ต้องใช้ ขบกัดทานอาหารที่แข็งและเคี้ยวยาก แต่ทุกวันนี้มักไม่จำเป็นอีกต่อไป และอาจทำให้เกิดปัญหาจนต้องถอนออก
เป็นเรื่องปกติ บางคนอาจมีฟันน้อยลงเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น พันธุกรรมหรือสภาพฟัน
แนะนำให้ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อรักษาสุขภาพช่องปากที่ดีและสามารถที่จะตรวจพบปัญหาต่างๆ ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
คำเตือน: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม