จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณไม่แปรงฟัน
เมื่อคุณละเลยการแปรงฟัน ฟิล์มบางๆ ของแบคทีเรียที่เรียกว่าคราบจุลินทรีย์จะก่อตัวขึ้นบนผิวฟัน การสะสมของคราบจุลินทรีย์นี้สามารถนำไปสู่ กลิ่นปากที่ไม่พึงประสงค์ ฟันผุ เหงือกอักเสบ อาจลุกลามไปถึงขั้นสูญเสียฟันได้
คำเตือน: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
การเคลือบฟลูออไรด์ช่วยปกป้องสุขภาพฟัน ช่วยคืนแร่ธาตุในบริเวณผิวเคลือบฟันที่อ่อนแอ ทำให้ฟันแข็งแรง ทนต่อฟันผุมากขึ้น และฟลูออไรด์ยังเข้าไปขัดขวางกระบวนการเมแทบอลิซึมของแบคทีเรีย ซึ่งจะลดความสามารถในการผลิตกรดอันตรายที่ทำร้ายฟัน การเคลือบฟลูออไรด์มีประโยชน์สำหรับคนทุกวัย แต่สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับทันตแพทย์ก่อนเสมอ เพราะบางคนอาจมีอาการแพ้หรือโรคประจำตัวที่อาจจะทำให้ได้รับผลกระทบจากฟลูออไรด์
การเคลือบฟลูออไรด์เป็นกระบวนการทางทันตกรรมเชิงป้องกันที่มุ่งเสริมสร้างสารเคลือบฟันและป้องกันฟันผุ รวมถึงการทาเจล หรือโฟมที่อุดมด้วยฟลูออไรด์ลงไปที่ฟันโดยตรง เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อกรดและแบคทีเรียที่จะเข้ามาทำลายฟัน
ฟลูออไรด์ช่วยปกป้องสุขภาพฟันได้ในสองทาง อย่างแรกคือ ช่วยคืนแร่ธาตุในบริเวณผิวเคลือบฟันที่อ่อนแอ ทำให้ฟันแข็งแรงขึ้นและทนต่อฟันผุมากขึ้น อย่างที่สอง ฟลูออไรด์จะเข้าไปขัดขวางกระบวนการเมแทบอลิซึมของแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งจะลดความสามารถในการผลิตกรดอันตรายที่ทำร้ายฟัน
การเคลือบฟลูออไรด์มีประโยชน์สำหรับคนทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่ฟันกำลังขึ้น หรือผู้ใหญ่ที่ทำฟันอยู่ ฟลูออไรด์สามารถเสริมสร้างฟันและป้องกันฟันผุได้
สำหรับเด็ก ฟลูออไรด์มีความสำคัญมากในช่วงพัฒนาการของฟัน ฟลูออไรด์จะช่วยให้ฟันที่กำลังงอกแข็งแรงและทำให้ฟันผุน้อยลง การเคลือบฟลูออไรด์เป็นประจำ สามารถลดความจำเป็นในการอุดฟันและขั้นตอนดูแลอื่นๆ ในเด็กเล็กได้อย่างมาก
ผู้สูงอายุก็สามารถได้ประโยชน์จากการเคลือบฟลูออไรด์ได้เช่นกัน เมื่ออายุมากขึ้น เหงือกของเราอาจร่นจนเห็นรากฟัน การเคลือบฟลูออไรด์ช่วยปกป้องบริเวณที่เปราะบางเหล่านี้และป้องกันฟันผุ ช่วยรักษาสุขภาพช่องปากไปได้หลายปี
ขั้นตอนการเคลือบฟลูออไรด์ทำได้เร็วและไม่เจ็บ ทันตแพทย์จะเริ่มต้นด้วยการทำความสะอาดฟันพื่อขจัดคราบพลัคหรือเศษต่างๆ จากนั้นจะทาน้ำยาฟลูออไรด์โดยใช้แปรง ถาด หรือน้ำยาบ้วนปาก หลังจากทำเคลือบฟลูออไรด์แล้วแนะนำไม่ให้กินหรือดื่มเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้ฟลูออไรด์ถูกดูดซึมได้อย่างเหมาะสม
การเคลือบฟลูออไรด์โดยทั่วไปนั้นปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับทันตแพทย์ก่อนเสมอ เพราะบางคนอาจมีอาการแพ้หรือโรคประจำตัวที่อาจจะทำให้ได้รับผลกระทบจากฟลูออไรด์ ทันตแพทย์จะตรวจสอบประวัติทางการแพทย์และปรับการรักษาให้เหมาะกับความต้องการก่อนทำการรักษา
เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการเคลือบฟลูออไรด์ ควรรักษากิจวัตรการดูแลช่องปากให้แข็งแรงอยู่เสมอ แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ และนัดตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ การเคลือบฟลูออไรด์จะได้ผลดีที่สุดหากทำควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพช่องปากให้ทั่วถึง
เพื่อเพิ่มการป้องกันฟันผุ ลองผสมฟลูออไรด์ร่วมกับสารเคลือบหลุมร่องฟัน ซึ่งเป็นสารเคลือบผิวฟันแบบบางที่ใช้กับผิวบดเคี้ยวของฟันกราม ผสมกันแล้วจะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันพิเศษจากแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดฟันผุ
ผิด – การใช้ฟลูออไรด์ในปริมาณที่เหมาะสม มีความปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพฟัน
ผิด – การเคลือบฟลูออไรด์มีประโยชน์ต่อคนทุกวัยรวมถึงผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน
ผิด – การเคลือบฟลูออไรด์ไม่ได้เจ็บ แถมยังทำได้อย่างรวดเร็ว
ผิด – แม้ว่าฟลูออไรด์ในน้ำจะเป็นประโยชน์ แต่การเคลือบฟลูออไรด์จะช่วยป้องกันฟันผุได้ดียิ่งขึ้น
สามารถเริ่มการเคลือบฟลูออไรด์ได้ทันทีที่ฟันซี่แรกขึ้น
สำหรับคนส่วนใหญ่ การเคลือบฟลูออไรด์ทุกๆ 6 เดือนก็เพียงพอ ทันตแพทย์กำหนดความถี่ในการเคลือบฟลูออไรด์ให้เอง
ได้แน่นอน การรักษาด้วยฟลูออไรด์สามารถช่วยรักษาสุขภาพฟันให้ดี และยังปกป้องฟันธรรมชาติด้วย
มีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น อาจมีจุดขาวชั่วคราวบนฟัน ซึ่งเกิดขึ้นได้แต่พบน้อย
แผนประกันทันตกรรมหลายแผนครอบคลุมการเคลือบฟลูออไรด์โดยเฉพาะสำหรับเด็กอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามลองตรวจสอบกับผู้ให้บริการประกันเพื่อยืนยันความคุ้มครอง
สรุปแล้ว การเคลือบฟลูออไรด์ เป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าในการรักษาสุขภาพช่องปากที่ดีที่สุด ช่วยป้องกันฟันผุ เคลือบฟันให้แข็งแรง และเป็นประโยชน์ต่อคนทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ การเคลือบฟลูออไรด์ไปพร้อมๆกับการดูแลฟัน สามารถนำไปสู่รอยยิ้มที่มีสุขภาพดีและมีความสุขมากขึ้นไปได้อีกหลายปีทีเดียว
คำเตือน: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม