จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณไม่แปรงฟัน
เมื่อคุณละเลยการแปรงฟัน ฟิล์มบางๆ ของแบคทีเรียที่เรียกว่าคราบจุลินทรีย์จะก่อตัวขึ้นบนผิวฟัน การสะสมของคราบจุลินทรีย์นี้สามารถนำไปสู่ กลิ่นปากที่ไม่พึงประสงค์ ฟันผุ เหงือกอักเสบ อาจลุกลามไปถึงขั้นสูญเสียฟันได้
คำเตือน: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
4 ปัญหาทางช่องปากที่ทุกคนต้องเจอ
สุขภาพปากเป็นสิ่งที่มีปัญหาได้ยาก เมื่อเทียบกับการไม่สบายหรือเป็นโรคที่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เลยทำให้ดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวและไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มาก โดยหลาย ๆ คนอาจจะใช้สัญญาณการปวดฟันเป็นมาตราวัดว่าสุขภาพปากของตัวเองเริ่มมีปัญหาแล้วหรือยัง
ยกตัวอย่างเช่น
ความเข้าใจของหลายคนก็จะเป็น ถ้ายังไม่ปวด ไม่เจ็บและยังใช้งานได้ จะเท่ากับว่าสุขภาพปากยังดีอยู่
แต่ความจริงแล้วมีสัญญาณต่าง ๆ ที่เป็นหลักฐานของสุขภาพปากที่อาจจะเป็นปัญหาให้ได้นะ
สัญญาณเหล่านี้ บางอย่างเราจะคุ้นเคยกับมัน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากตัวเราเองหรือประสบการณ์จากคนรอบตัวเรา จากประสบการณ์และข้อมูลจากร้าน DragCura ซึ่งเป็นร้านที่ขายสินค้าทางและให้คำแนะนำกับบุคคลทั่วไปในการดูแลสุขภาพปากและฟัน
นี่คือ 4 ปัญหาที่บุคคลทั่วไปพบเจอเป็นจำนวนมาก
1. ปากไม่สิ้นกลิ่น..ปาก (มีกลิ่นลมหายใจ)
หลายคนประสบปัญหานี้กับตัวเองแม้กระทั่ง “ไม่รู้ว่าตัวเองมีกลิ่นปาก” จะรู้ตัวก็ยาก เพราะเป็นหนึ่งในปัญหาที่คนไม่กล้าบอกกันมากที่สุด ต่อให้รักกันมากแค่ไหน อาจจะเพราะมันดูเป็นเรื่องส่วนตัวและเสียมารยาทที่จะบอกกัน ประกอบกับเจ้าของกลิ่นปาก ก็คงจะชินกับกลิ่นปากตัวเองอยู่แล้ว
เทคนิคง่าย ๆในการเช็กกลิ่นปาก อาจจะเป็นการเลียไปที่ฝ่ามือตัวเอง แล้วปล่อยไว้สักพักให้เริ่มแห้ง แล้วลงดมดู
กลิ่นปากนอกจากเป็นสัญญาณของสุขภาพปากที่ไม่สะอาดแล้ว ยังคงส่งผลกับภาพลักษณ์ของเจ้าของกลิ่นด้วย
เพราะความเป็นจริง ไม่มีใครคนไหนอยากจะอยู่ใกล้อะไรที่มีกลิ่นเหม็นแน่นอน
2. วัดใจกับไอครีม (เสียวฟัน)
ถ้านับกลิ่นปากว่าเป็นปัญหาทางกลิ่น ปัญหายอดนิยมต่อมาก็คงจะไม่พ้นเกี่ยวกับการกิน โดยเฉพาะของเย็นๆ เช่นไอครีม กินทีก็ต้องระวังที ว่าจะมีอาการเสียวฟันไหม
อาการเสียวฟัน เป็นสัญญาณที่บอกว่าสุขภาพฟันของเรานั้นไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไหร่นัก เพราะทางเทคนิคคือ ผิวหน้าฟันได้หายไปหรือบางลง จนความเย็นจากอาหาร ถูกส่งต่อไปที่ปลายประสาทที่อยู่ใกล้บริเวณเนื้อฟันได้
เมื่อความเย็นถูกส่งไปที่ปลายประสาทจะเกิดเป็นอาการเสียวฟันแค่แปปเดียว
แต่ถ้าฟันเรากร่อนไปมากกว่านี้ แล้วกลายเป็นเชื้อโรคที่หลุดเข้าไปแทน อาการไม่น่าจะแปปเดียวเหมือนเสียวฟันแน่
นอกจากอาการเสียวฟันที่ร่างกายตอบสนองเพื่อเป็นสัญญาณให้เราต้องระวังและเริ่มดูแลสุขภาพปากและฟันแล้ว
ความสุขจากการกินที่ก็คงจะลดลง
แค่เสียวฟัน ยังทำให้เรารู้สึกแย่ทั้ง ๆ ที่ไอครีมเป็นของหวานที่อร่อย สภาพตอนที่สุขภาพปากเราเหลือฟันไม่กี่ซี่ และไม่ได้แข็งแรงพอ จนเหลืออาหารแค่บางอย่างที่เราสามารถทานได้ กิจวัตรการกินอาหารที่จะเกิดขึ้นวันละ 2-3 ครั้ง คงเป็นกิจวัตรประจำวันที่ทรมานแน่นอน
3. เหงือกแดง แปรงแล้วเลือดพุ่ง
สีของเหงือกสามารถบ่งบอกถึงสุขภาพปากได้ เหงือกที่สุขภาพดี จะมีสีที่ออกไปทางชมพูอ่อน ๆ แต่ถ้ามีอาการเริ่มอักเสบหรือติดเชิ้อ สีก็จะแดงเข้มขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด
สีของเหงือกอาจจะสังเกตได้ไม่ชัดพอ แต่ถ้ามีอะไรไปโดน เช่นตอนแปรงฟัน หรือการใช้ไหมขัดฟัน เหงือกที่อักเสบจะมีเหลือดไหลออกมาได้ง่ายมาก
แค่สะกิด บางทีเลือดก็พุ่งออกมาได้ง่าย ๆ
หลายคนอาจจะตกใจ คิดว่าใช้แปรงที่ขนแข็งไป หรือว่าแปรงแรงไป (ซึ่งอาจจะใช่ในบางที) บางคนก็จะแก้ปัญหาโดยการหลีกเลี่ยงการแปรงในบริเวณนั้น ส่งผลให้จุดที่เลือดออก ไม่ได้รับการทำความสะอาดมากขึ้น
จากบริเวณเล็ก ๆ ที่เชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่ หากไม่ทำความสะอาดให้ดี การอักเสบก็จะเริ่มลามไปที่เหงือกและฟันข้าง ๆ และแน่นอนว่า กลิ่นปากและอาการเสียวฟัน ก็อาจจะตามมาพร้อมๆ กับจากการอักเสบของเหงือก เรียกได้ว่าเป็นคอมโบซื้อ 1 แถม 2
ต่อไปไม่ต้องรอให้แปรงฟันแล้ว ถ้าอาการอักเสบมันมากพอ แค่เราขยับปากหรือพูดคุย
เลือดก็สามารถพุ่งออกมาได้ง่าย ๆ เลย
4. สีขาว = ฟันสะอาด แต่ถ้าฟันสีเหลือง!?
สีฟันที่ไม่สดใสเป็นปัญหาทางจิตใจของเจ้าของฟันเป็นหลัก ง่าย ๆ ก็คือความไม่พอใจของตัวสีฟันตัวเองที่ไม่ขาวพอ เพราะนายแบบนางแบบ หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง สังเกตว่าจะมีสีฟันที่ขาวมาก จนกลายเป็นแบบอย่างของความสวย/หล่อแล้ว
ฟันขาว = สวย
ดังนั้นเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการทำให้ฟันขาวทั้งการ ขัดฟัน, ดูดสีฟัน, เคลือบฟัน และฟอกสีฟัน เลยผุดขึ้นมากมาย ผลลัพธ์ในการฟอกฟัน ก็จะเห็นได้ชัดเจนง่ายมาก เพราะแค่สีขาวขึ้น ก็คือได้ผลแล้ว
แต่สิ่งที่น่ากังวลไม่ใช่ผลลัพธ์ของการทำให้ฟันขาว แต่กลายเป็นวิธีการในการทำให้ฟันขาวมากกว่า เพราะว่าหลายวิธีที่มีอยู่นั้น คือการเอาผิวฟันออกให้บางลง เพื่อให้ได้เห็นสีฟันชั้นในที่ขาวขึ้น
ทำให้ปัญหาที่ควรคิดคือ เราจะต้องฟันขาวอย่างไร เพื่อให้ความแข็งแรงของฟันยังดีอยู่ หากไม่เลือกวิธีการหรืออุปกรณ์ที่ทำฟันขาวที่ปลอดภัย สุดท้ายฟันอาจจะขาวขึ้นจริง แต่ไม่พ้นลากอาการทางช่องปากอื่น ๆ ตามมา เช่น อาการเสียวฟัน ฟันกร่อน กลายเป็นสิ่งที่ตามมาหลังจากการทำให้ฟันขาว อาจจะมีอันตรายกว่าที่คิด
ครบจบป้องกันได้ที่ DragCura
4 ปัญหาที่เกริ่นมาทั้งหมด เป็นปัญหาสุขภาพปากที่หมอฟันทุกคนสามารถแก้ไขได้ และ DragCura เองก็แนะนำให้ไปพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพปากและฟันด้วย
แต่ถ้าเรามามองในมุมที่เราอยากดูแลช่องปากก่อนที่จะเกิดปัญหาพวกนี้
จะดีกว่าไหม? ถ้าเราเองสามารถป้องกันพวกนี้ก่อนได้ แล้วให้การไปพบทันตแพทย์เป็นการไปคอนเฟิร์มสุขภาพปากเราจริงๆ ว่า สุขภาพปากไม่ได้มีปัญหาอะไร และเมื่อไม่มีปัญหาอะไร ก็จะไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
คุ้มทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายแล้ว และคุ้มในการดูแลสุขภาพปากและฟันของตัวเองด้วย
ไม่มีกลิ่นปาก = คนรอบตัวสบายใจไม่สร้างความอึดอัดให้กับคนรอบข้าง
ไม่เสียวฟัน = สามารถกินอาหารได้อย่างสบายใจ
เหงือกไม่อักเสบ = มั่นใจว่าไม่มีเชื้อโรคในช่องปาก
ฟันขาวสะอาด = มั่นใจในการยิ้ม มีบุคลิกภาพที่ดี
DragCura เองให้ความสำคัญกับการดูแลในเชิงป้องกันนี้ จึงมีบริการแนะนำสินค้าที่ตอบโจทย์การป้องกัน และดูแลรักษาสุขภาพปากได้ด้วยตัวเอง
รวมถึงมี Mascott “น้องฟันดี” ที่ค่อยช่วยทำให้สุขภาพปาก เป็นเรื่องที่น่าสนใจและง่ายสำหรับทุกคน
ถ้าเป็นการแก้ไข ซ่อมช่องปากให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม ให้เป็นหน้าที่ของทันตแพทย์
ถ้าเป็นการแนะนำสินค้าให้เหมาะสมกับแต่ละคน เพื่อป้องกัน 4 ปัญหาทางช่องปากที่ทุกคนต้องเจอ ให้มาที่ DragCura ที่มีพนักงานที่พร้อมสำหรับการแนะนำแบบมืออาชีพ พร้อมกับความรู้ที่พร้อมผ่านการอบรมโดยทันตแพทย์โดยตรง
เพราะสุขภาพปากแต่ละคนต่างกัน
จึงต้องได้การแนะนำและอุปกรณ์ที่เหมาะสมต่างกันด้วย
เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพปากที่ดีที่ DragCura
คำเตือน: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม